วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

อิคคิวซัง

ประวัติ

เณรน้อยเจ้าปัญญา (ญี่ปุ่น: 一休さん Ikkyusan ?) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องราวเกี่ยวกับ อิคคิว เณรในนิกายเซนที่มีปัญญาฉลาดหลักแหลม ตัวละครอิคคิวมาจากพระนิกายเซนชื่อ อิคคิว โซจุน ที่มีชีวิตในช่วง ค.ศ. 1394–1481

เนื้อเรื่อง
แต่ละตอนจะเกิดปัญหาต่างๆ ที่มาจากเพื่อนเณรในวัดอังโคะคุ (ญี่ปุ่น: 安国寺 Ankokuji ?) คือ ชูเน็นซัง จินเน็นซัง เท็ซไซซัง และเทะสึไบซัง หรือที่โชกุนอาชิคางะ โยชิมิสึ กับคิเคียวยะซัง เจ้าของร้านขายของชำในละแวกวัด ร่วมกับลูกสาว ทั้งจากวิธีที่ตั้งใจกลั่นแกล้งเล่นๆ(อำ) คำถามทดลองเชาว์ปัญญา เหตุสุดวิสัย หรืออื่นๆ แต่อิคคิวก็ใช้วิธีการนั่งสมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา และแก้ไขสถานการณ์ไปได้ทุกครั้ง โดยก่อนจะนั่งสมาธิ อิคคิวซังจะมีคำพูดประจำว่า ใช้’หมอง นั่ง’มาธิ และโชกุนก็ยังสั่งการให้ซามูไรชินเอมอน ซึ่งเป็นผู้ตรวจการ เฝ้าติดตามอิคคิวซังไปทุกที่ ราวกับเป็นองครักษ์ส่วนตัว โดยอิคคิวซัง เพื่อนเณร และซาโยจัง เด็กหญิงที่อาศัยอยู่บริเวณวัด จะเรียกว่า ชินเอมอนซัง
ที่มาที่ไปของเนื้อเรื่อง เณรน้อยเจ้าปัญญา อ้างอิงถึงประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น โดยย้อนกลับไปในช่วงยุคเฮอัง ใน ค.ศ. 794 จักรพรรดิญี่ปุ่น ได้จัดให้มีโชกุน เป็นตำแหน่งของนายทหารใหญ่ ปฏิบัติหน้าที่เป็นอำมาตย์ใหญ่ช่วยในการปกครองประเทศ แต่ต่อมา ในยุคคะมะกุระ จักรพรรดิกลับดูเหมือนเป็นเพียงหุ่นเชิดของโชกุน ใน ค.ศ. 1333 จึงมีการฟื้นฟูระบบจักรพรรดิ ทำให้จักรพรรดิกลับมามีอำนาจอีกครั้ง แต่ใน ค.ศ. 1336 ก็เข้าสู่ยุคมุโระมะจิ นายทหารเข้าปราบปรามชนชั้นปกครอง แล้วก่อตั้งรัฐบาลโชกุน ขึ้นปกครองประเทศในรูปแบบเผด็จการทหารตั้งแต่บัดนั้นจนกระทั่ง ค.ศ. 1868 เมื่อเข้าสู่ยุคเมจิ ตำแหน่งโชกุนถูกยกเลิก จักรพรรดิมีอำนาจในฐานะประมุขอีกครั้ง
การ์ตูนเรื่องนี้ กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงต้นของยุคมุโระมะจิ หลังจากตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นแล้ว โชกุนโยชิมิทสึ ต้องการความมั่นคงในอำนาจ จึงออกคำสั่งให้โอรสของพระจักรพรรดิองค์ก่อนไปเข้าพิธีบวชตลอดชีวิต (แต่พระอิกคิวตัวจริง บวชเพราะเป็นพระราชโอรสของพระมเหสีนอกสมรสของจักรพรรดิ และถูกพระมเหสีจากราชสำนักกลั่นแกล้ง) เชงกิโกมารุ พระราชโอรสจึงต้องไปบวชเณรขณะที่ยังเล็ก โดยได้รับสมญาว่า อิกคิว แต่ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ จึงไม่มีความเคียดแค้นโชกุน (ซึ่งได้ชิงอำนาจจักรพรรดิอันชอบธรรมไปจากอิคคิว) นอกจากนี้โชกุนโยชิมิทสึและอิกคิวยังเป็นมิตรที่ดีต่อกันในเวลาต่อมาด้วย

ตัวละคร
    วัดอังโกะคุ
  • อิคคิว (ญี่ปุ่น: 一休 Ikkyuu ?) หรือ อิคคิวซัง เณรแห่งวัดอังโคะคุ มีอายุพรรษาน้อยที่สุดและถูกขนานนามว่าเป็น เณรน้อยเจ้าปัญญา (ญี่ปุ่น: 聡明な小坊主 soumeina kobouzu ?) ชื่อในวัยเด็กคือ เซ็งงิคุมารุ (ญี่ปุ่น: 千菊丸 ?) เป็นผู้รักความถูกต้อง และด้วยความฉลาดทำให้มีคนอยากจะมาประลองปัญญาโดยถามปัญหากับอิคคิวซังบ่อยครั้ง
  • ซาโยจัง (ญี่ปุ่น: さよちゃん Sayochan ?) เพื่อนสนิทของอิคคิวซัง เป็นเด็กที่อาศัยอยู่หลังวัดกับปู่เพียงสองคนเพราะเสียพ่อและแม่ไปตั้งแต่หล่อนยังเด็กๆ มีหวีซึ่งเป็นของแม่ของเธอไว้ดูต่างหน้า และชอบมาเล่นภายในวัดกับอิคคิวซังบ่อยครั้ง มีนิสัยขี้งอนในบางครั้ง มีสัตว์เลี้ยงเป็นลูกแมว ชื่อ ทามะ
  • เจ้าอาวาสไกคัง (ญี่ปุ่น: 外観和尚 Gaikan Oshou ?) เจ้าอาวาสวัดอังโกะคุ เป็นคนที่เข้มงวดกับเหล่าเณร และเป็นคนที่ดูอบอุ่นและอ่อนโยน โชกุนชอบเรียกไปปราบพร้อมกับอิคคิวซังบ่อยครั้ง
  • ชูเน็น (ญี่ปุ่น: 秀念 Shuunen ?) เป็นเณรที่แก่ที่สุดในวัดอังโกะคุ และเป็นศิษย์ผู้พี่ของเณรทั้งหลาย แอบชอบ ยาโยย คิเคียวยะ อยู่
  • เท็ซไซ (ญี่ปุ่น: 哲斉 Tessai ?) เป็นเณรแห่งวัดอังโกะคุ เดิมที่เป็นทหารของฝ่ายตรงข้ามที่ปรปักษ์กับโชกุนโยชิมิทสึ
  • จินเน็น (ญี่ปุ่น: 珍念 Chinnen ?) เป็นเณรแห่งวัดอังโกะคุ รูปร่างอ้วนเพราะกินเยอะ
  • เทะสึไบ (ญี่ปุ่น: 哲梅 Tetsubai ?) เณรแห่งวัดอังโกะคุ มีรูปร่างหน้าตาเป็นที่สะดุดตาและมีนิสัยเงียบขรึม
  • โมะคุเน็น (ญี่ปุ่น: 黙念 Mokunen ?) เณรแห่งวัดอังโคคุ มีส่วนสูงพอๆกันกับอิคคิวซัง
  • โกซาคุ (ญี่ปุ่น: 吾作 Gosaku ?) ปู่ของซาโย อาศัยอยู่ในบ้านหลังวัดอังโกคุ มีฐานะยากจน และเป็นยอดฝีมือในการปลูกหัวไชเท้า

 วังของโชกุน

  • ท่านโชกุน (ญี่ปุ่น: 将軍さま Shougunsama ?)
  • นินะงะวะ ชินเอมอน (ญี่ปุ่น: 蜷川新右衛門 Ninagawa Shinemon ?)

 ร้านคิเคียวยะ

 ตัวละครอื่นๆ

  • เจ้าหญิงสุเอะ (ญี่ปุ่น: 末姫 Suehime ?)
  • ทสึโบะเนะ อิโยะโนะ (ญี่ปุ่น: 伊予の局 Iyono tsubone ?) แม่ของอิคคิวซัง
ความคิดเห็น
อิคคิวซังเป็นตัวละครที่มีความเฉลียวฉลาดมาก มีสติปัญญาเฉียบแหลม ซึ่งอิคคิว เป็นสามเณรที่บวชอยู่ที่วัดอังโกะคุ และเป็นสามเณรที่มีพรรษาน้ยที่สุดในวัดแห่งนั้น ซึ่งความที่อิคคิวมีปัญญาดีนั้นก็เป็นเหตุทำให้ท่านโชกุนอยากที่จะเอาชนะอิคคิวให้ได้จึงหาอุบายต่างๆนานาขึ้นเพื่อที่จะใหอิคคิวคอยแก้ปัญหาต่างๆเหล่านั้น เพื่อที่อิคคิวจะได้ขายหน้าชาวบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น